เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน
ประวัติพระเครื่องไทย admin  

เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน

เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน

พระยอดขุนพล เป็นพระเครื่องอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสะสมกันมาก โดยเฉพาะพระเนื้อชิน มีการจัดสร้างกันมาแต่สมัยโบราณทักยุคทุกสมัย ตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ มีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อสัมฤทธิ์ เป็นพระเครื่องที่ทรงพุทธคุณเป็นเลิศทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี พุทธคุณเป็นที่ประจักรมาช้านาน พระบางองค์ยังมีประวัติผู้เข้ากับวีรบุรุษกู้ชาติ จึงทำให้พระยอดขุนพล เป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยเฉพาะในหมู่ทหาร ตำรวจ และข้าราชการปกครองทั้งหลาย

เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน

พระยอดขุนพลกรุเก่าทีขึ้นชื่อลือชามีอยู่มากมายหลายกรุ โดยเฉพาะพระยอดขุนพลของจังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นพระยอดขุนพลในยุคต้น ๆ เช่นที่กรุวัดไก่ และกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น และยังมีพบในกรุอื่น ๆ อีกมาก เช่น กรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา กรุเสมาสามชั้น จ.เพชรบุรี หรือที่กรุชากังลาว จ.กำแพงเพชร เป็นต้น และได้มีการลงลึกไปถึงองค์พระแต่ละพิมพ์แต่ละกรุอีกต่างหาก

ในประมาณปี พ.ศ. 2497 ท่านตรียัมปวาย ปรมาจารย์พระเครื่องผู้บัญญัติพระชุดเบญจภาดี ได้รวมพระชุดเบญจภาคีพระยอดจุนพลเนื้อชินไว้ ซึ่งถือเป็นพระขุดยอดขุนพลตระกูลเหนียว มีพุทธคุณเด่นเป็นเลิศในด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และมหาอุด ซึ่งประกอบไปด้วยพระยอดขุนพล 5 องค์เด่น ๆ ดังนี้ พระร่วงรางปืน, พระหูยาน, พระท่ากระดาน, พระชินราชใบเสมา และพระมเหศวร ซึ่งจะสังเกตได้ว่าพระแต่ละองค์จะมีพุทธคุณและพุทธลักษณะที่งดงาม เข้มขลัง มองดูน่าเกรงขาม สมเป็นพระยอดขุนพลไม่แพ้กันทุกองค์

พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย เป็นพระกรุที่มีเอกลักษณ์ คือ ด้านหลังเป็นรางปืน ได้รับการยกย่องให้เป็น จักรพรรดิแห่งพระยอดขุนพลเนื้อชิน มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงามแต่ก็แฝงไว้ด้วยความเข้มขลัง

พระหูยาน จ.ลพบุรี เป็นพระกรุยอดขุนพลของเมืองละโว้ มีเอกลักษณ์เด่นคือ พระกรรณยาวจรดพระอังสา เป็นที่มาของคำว่าหูยาน ขุดพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรีเป็นหลัก เรียกว่าพระหูยานลพบุรี

พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจบุรี มีพุทธศิลปะแบบอู่ทองที่งดงาม พระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม สมัยก่อนเรีกว่าพระเกศบิด ตาแดง ตามพุทธลักษณะ มีการขุดพบที่วัดเหนือ วัดกลาง วักล่าง และบริเวณถ้ำสั่งทม มีการแบ่งเป็นพระกรุใหม่ และกรุเก่า

พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก มีพุทธศิลปะและพิมพ์ทรง ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระตระกูล ยอดขุนพล ศิลปะลพบุรี เป็นการสร้างขึ้นพร้อมกับพระปรางค์สามยอดของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่

พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี มีพุทธลักษณะที่แปลกตาแตกต่างไปจากพระพิมพ์อื่น ๆ ของเมืองไทย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาสมัย มีการแก้ปัญหาพระเนื้อขินที่พระศอมักจะเห็นว่าบอบบาง เป็นพระที่มีสองหน้ามีพระศอสวนทางกัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

 

พระยอดขุนพลเนื้อชิน นับได้ว่าเป็น สุดยอดแห่งตำนานพระยอดขุนพลอย่างแท้จริง

 

 

เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน