เกจิดัง พระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านมีกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกันวันที่ 20
ประวัติเกจิอาจารย์ admin  

เกจิดัง พระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร

เกจิดัง พระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านมีกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ซึ่งตรงกันวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ณ บ้านท่าม่วงไข่ ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านเป็นบุครคนที่ 5 ของครอบครัวเจ้าไชยกุมาร ในตระกูล สุวรรณรงค์ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมืองรรรณานิคม ส่วนมารดาของท่าน คือ นางนุ้ย เมื่อครั้งยังเยาว์ ท่านเป็นเด็กที่เรียบร้อย มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ และได้ช่วยเหลือกิจการของครอบครัว บิดา มารดามาโดยตลอด โดยไม่ปริปากในความยากลำบากแต่อย่างใด

เกจิดัง พระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร

เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 20 ปี

ครั้นถึงอายูได้ 20 ปี ท่านก็ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วันสิทธิบังคม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนครมีพระครูป้อง เป็นอุปัชย์ และเป็นผู้สอนวิชากรรมฐานให้ท่านในพรรษาแรก เมื่อออกพรรษาท่านได้กลับมาจำวัดที่ วัดโพนทอง ซึ่งมีพระครูสกลสมณกิจ เป็นผู้ครองวัดอยู่ จึงได้เรียนวิชาวิปัสสนาก็ท่านอีก พระฝั้น ออกธุดงค์ครั้งแรกในวิถีบรรพชิตได้ในที่ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ธรรม และคำสอนชองพุทธองค์ เป็นที่ร่ำลือและนับถือศรัทธาของสาธุชนทั่วไป มีญาติโยมจำนวนมากที่ให้ความเคารพศรัทธา และได้รับการยกย่องให้เป็นอริยสงฆ์ องค์หนึ่ง ท่านเป็นนักสร้างคนโดยแท้ และสมบูรณ์ที่สุด

ท่านได้แก้ไขนิสัยของคนที่พาลเกเรให้กลับมาเป็นคนดี ไม่สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่นทั้งโดยอำนาจ และกำลังในทางมิชอบได้สำเร็จ อีกทั้งผู้ที่ติดการพนันอบายมุขต่าง ๆ ให้หันกลับมาทำแต่ความดี มีความสำนึกผิดชอบชั่วดี และละเว้นจากกรรมชั่วทั้งหลายสำเร็จเป็นอันมาก เมตตาบารมีของท่านทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็น เกจิดังแห่งยุค มีผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกันท่านอย่างมากมายในแต่ละครั้งที่ได้มีการบอกบุญ ต่อมาท่านอายุมากขึ้นได้เกิดอาการป่วยด้วยโรคชรา แต่ท่านก็ไม่ยอมย่อท้อต่อสังขารยังคงทำกิจของสงฆ์ตลอดมา ญาติโยมทุกคนก็รู้ดีว่าเพราะท่านมีเมตตรธรรมต่อเหล่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

อาการอาพาธอย่างรุนแรงและได้มรณภาพอย่างสงบ

เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2519 ท่านเกิดอาพาธอย่างรุนแรง และได้เข้าพักรักษาอาการที่โรงพยาบาลสกลนคร แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงได้เดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬา ฯ ในกรุงเทพ ระยะหนึ่ง โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ท่านรักษาตัวอยู่ในระยะหนึ่งอาการดีขึ้นบ้าง ท่านก็ขออนุญาตกลับวัดที่สกลนคร คณะศิษย์ได้ร่วมกันสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ท่าน โดยมีการยกพื้นให้สูงขึ้นเหนือระดับน้ำในสระหนองแวง เพื่อมิให้ต้องระวังเวลาน้ำขึ้นน้ำลง และทำรั้วกั้นไว้อย่างถาวรเพื่อมิให้ใครมารบกวนท่านได้ แต่สำหรับอาการป่วยของท่านก็ยังไม่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุดอยู่ตลอดมา เป็นเหตุให้ท่านมีโรคแทรกซ้อนอีกหลายโรคในเวลาต่อมา และท่านได้มรณะภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2520 เมื่อเวลา 19.50 น. นั้นเอง