หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลาประมาณ 21.00 น. ณ บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร บิดาชื่อ นายสาน มารดาชื่อนางสิงห์ดำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมกัน 10 คน ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ 5
สกุล “วงศ์เข็มมา” เป็นสกุลเก่าแก่ของบ้านบัว ซึ่งเป็นต้นสกุลของท่านขุนแก้ว และอิทปัญญา น้องชายท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของท่านเอง ย้อนความาในคืนที่หลวงพ่อท่านเกิด เวลาประมาณ 1 ทุ่ม โยมมารดาท่านเคลิ้ม หลับไป ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่ง มีรัศมีกายสุขสว่าง แลเห็นแล้วเย็นตาเย็นใจเป็นอันมาก ได้ลอยลงมาจากฟากฟ้า ได้มาที่กระต๊อบในทุ่งนาของนาง ต่อมาในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม นางก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด จากความฝันที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นสามีและเป็นบิดาของเด็กน้อยให้ตั้งชื่อให้ว่า “สิม” ซึ่งหมายถึงโบสถ์ในภาษาอีสาน อันบอกว่ามีความใกล้ชิดกับศาสนาพุทธ ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นี้เมื่อมีอายุได้ประมาณ 15-16 ปี ท่านมีความสนในในเรื่องดนตรี หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมดลำ ส่วนหลวงปู่สิม ทำหน้าที่หมดแคน
สิ่งหนึ่งที่บันดาลให้หลวงปู่สิม ออกบวชก็คือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า ตั้งแต่เด็กเมื่อได้เห็น หรือไม่ข่าวคนตาย มันทำให้สลดใจทุกครั้ง กลัวว่าจะต้องตายก่อนได้บวช มรณานุสคติได้เกิดขึ้นในใจท่าน อยู่ตลอดเวลา และเฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในความตาย ท่านจำได้กำหนด มรณํ เม ภวิสสติ ของท่านอยู่ตลอดเวลามาแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจนสิ้นอายุขัย หลางปู่ท่านใช้อุบายธรรมชัยเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเมื่อหลางปู่สวดครั้งใดมักจะมี มรณํ เมถวิสสติ เป็นสัญญาณเตือนภัยจากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาเตือนใจอยู่ทุกครั้ง
ขณะท่านอายุได้ 17 ปี ได้ขอให้บิดามารดาบวชสมาเณรให้ ที่ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ที่บ้านบัวนั่นเอง ซึ่งตรงกับวันที่ 8 กรกฏาคม 2469 เป็นวันอาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปฃฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินธุดงค์มาจาก จ.หนองคาย เพื่อมาเผยแพร่พระธรรมแก่ประชาชน และได้เดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ต.สามผล อ.ศรีลงคราม จ.นครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่คือหลวงปู่มั่น และพระอาจารย์สิง ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกตข้อปฏิบัติของพระอาจารย์มั่น และท่านพระอาจารย์สิงห์ รวมทั้งพระอาจารย์อื่นที่ร่วมคณะ ทำให้เกิดความเลื่อมใสอย่างมาก ได้ตัดสินใจถวายตัวเป็นศิษย์ และได้ขอเข้าเป็นธรรมยุตินิกาย แต่ขณะนั้นวัดยังไม่มีโบสถ์ของธรรมยุตินิกายในละแวกนั้นจึงต้องไปประกอบพิธีกรรมที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ 2 ลำ โดยทำเป็นโป๊ะให้ลอยคู่กัน แล้วใช้ไม้พื้นยึดให้อยู่โดยทำเป็นไม้พื้น แต่ไม่มีหลังคา ให้สมมุติว่าเป็นโบสถ์แทน โดยท่านอาจารย์มั่น เป็นพระประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาที่วัดป่าบ้านสามผง จากนั้นสามเณรสิมก็ได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ต่อมาหลวงปู่สิมอายุครบบวช ก็ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ต.พระลัง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับ วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทฺธาจาโร” และได้เดินทางติดตามทั้งพระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเมกธรรม หรือวัดป่าเหล่างา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในเขตป่าช้า ที่เป็นโรงพยาบาลเก่า
หลวงปู่สิมได้รับ ได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระครูสันติวรญาณ” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 โดยได้รับพัดยศพร้อมเลื่อนสมณศักดิ์จาก “พระครูสันติวรญาณ” เป็น “พระญาณสิทธาจารย์” ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 และในคืนวันที่ 13 สิงหาคม 2535 พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่วัดถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. ท่านก็นั่งพักเพื่อดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ 20 นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา 22.00 น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พัก ซึ่งอยู่ทางด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา