พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปญญาธโร)
พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปญญาธโร)
สำหรับเซียนพระตัวยงหรือเซียนพระที่อยู่จังหวัดสมุทรปราการจะต้องรู้จักกับพระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปญญาธโร) หรือที่ลูกศิษย์ลูกหารู้จักกันดีในนาม “หลวงปู่เผือก” เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดกิ่งแก้ว ท่านเป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงกลายมาเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังได้ วันนี้ผมจะพาไปพบกับประวัติคร่าวๆ ของท่านกันครับ
พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปญญาธโร) หรือ หลวงปู่เผือก เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ปี พ.ศ.2412 อยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ โดยท่านเป็นคนจังหวัดสมุทรปราการตั้งแต่เกิด มีบิดาชื่อนางทองสุข มีมารดาชื่อนางไข่ มีพี่น้องรวมทั้งหมด 8 คนด้วย โดยตัวท่านนั้นเป็นคนที่ 5 ในวัยเด็กหลวงปู่เผือกเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด ไหวพริบดี จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี จึงลาบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบิดา – มารดา ตามประเพณีของชายไทย ณ วัดกิ่งแก้ว โดยมีหลวงปู่ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “ปญญาธโร” โดยท่านนั้นจำพรรษาที่วัดกิ่งแก้วมาโดยตลอด
ด้วยความที่หลวงปู่เผือกเป็นคนขยันหมั่นเพียร ท่านได้เรียนรู้ศึกษาภาษาไทยจนแตกฉาน และเริ่มศึกษาเรื่องของพระธรรมวินัย ตลอดจนฝึกการนั่งวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีพระอาจารย์อิ่มเป็นผู้สอน จนกระทั่งในปีพ.ศ.2442 พระอาจารย์อิ่มมรณภาพลง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้วว่าลง บรรดาพระสงฆ์และชาวบ้านต่างลงความเห็นว่า หลวงปู้เผือกเหมาะสมที่สุดในการขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนพระอาจาร์อิ่ม ขณะนั้นเองหลวงปู่เผือกมีอายุได้ 30 ปี และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยสิ่งแรกที่ท่านได้ทำคือการซ่อมแซมพัฒนาอาคารภายในวัดให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี และสิ่งที่ท่านทำนั้นปรากฏเป็นหลักฐานสืบมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2481 ท่านจึงได้พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งสมณศักดิ์เป้น “พระครูกรุณาวิหารี”
หลวงปู่เผือกนอกจากจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการทำนุบำรุงศาสนาแล้ว ท่านยังมีชื่อเสียงในด้านพระเครื่องที่มีอานุภาพมากมาย โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิมยม ซึ่งทั้งหมดนั้นท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ทอง อายะนะ แห่งวัดราชโยธานั่นเอง หลวงปู่เผือกดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้วมานานถึง 59 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2501 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สิริรวมอายุได้ 88 ปี 67 พรรษาด้วยกัน