ประวัติและความเป็นมา พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
ประวัติพระเครื่องไทย admin  

ประวัติและความเป็นมา พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

ประวัติและความเป็นมา พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก เป็นพราะยอดนิยมอีกองค์หนึ่งซึ่งได้ถูกจัดไว้ในพระชุดเบญจภาคี ที่มีพุทธคุณอันล้ำเหลือ เด่นทางเมตตามหานิยม แคล้าคลาด มหาอุด พุทธคุณของพระนางพญาเป็นที่ประจักษ์มาแล้วเป็นเวลานาน พระนางพญาส่วนใหญ่แล้วจะไม่เห็นหน้าตาไม่ชัดนัก ส่วนบนหน้าขององค์พระจะกว้างและสอบลงมาที่คาง ที่หน้าผากจะยุบพอให้เห็นเป็นตำหนิ หูขวาขององค์พระจะยาวลงมาเป็นเส้นจรดไหล่ ส่วนปลายหูขวาจะเห็นได้ชัดเหมือนหางแซงแซว หูซ้ายจะยาวจรดไหล่และพาดต่อลงมาถึงจีวร ถ้ามองที่บริเวณหัวไหล่ซ้ายจะเห็นได้ชัด อันนับได้ว่าเป็นเอกลักลักษณ์ของพิมพ์ ส่วนบริเวณปลายไหล่ทั้งสองข้างจะเทลาดลงไปยังขอบทั้งสองด้าน สังฆาฏิกว้างเห็นเป็นแผ่นหนาได้ชัดเจน แขนขวาวางพาดอยู่บนตัก แขนซ้ายจะงดเป็นรูปขอเป็ดตกปลา ให้สังเหตุที่ข้อมือขวาขององค์พระที่วางอยู่บนหัวเข่า จะเป็นการวางมือแบบหักข้อมือโดยวางหักออกด้านนอก

ประวัติและความเป็นมา พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

ที่รอยตอกตัดด้านข้างต้องดูเป็นธรรมชาติ พื้นผิวองค์พระจำมีการยุบตัวไปตามกาลเวลาไม่เสมอกันทั้งองค์ จะเป็นรอยครูดเนื่องจากการกดตอกลงมาจากด้านบน มากระทบกับเม็ดกรวด ซึ่งจะมีทั้งตัดขิดขอบพิมพ์ และไม่ชิดขอบซึ่งจะพบเห็นได้เช่นกัน ส่วนเม็ดแร่ที่เห็นในองค์พระจะไม่มีเม็ดแร่ที่คม สีที่พบมากได้แก่สีขาวขุ่น ขาวใส น้ำตาลและดำ ไม่มีส่วนคมให้เห็น พระนนางพญาเป็นพระศิลปะสุโขทัย อายุการสร้างประมาณ 400 ปี เป็นพระพุทธปางมารวิชัย ไม่มีฐาน ไม่มีซุ้ม ขอบตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชิดองค์พระ ส่วนด้านหลังจะเรียบเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของผิวด้านหลังที่เรียบและมีส่วนผสมของกรวดที่ฝังอยู่ในเนื้อดิน ด้วยอายุที่ยาวนานถึง 400 ปี จึงทำให้เนื้อพระหดตัวตามธรรมชาติ ทำให้เห็นเนื้อดินที่หุ้มอยู่หดตัวลงด้วยเรียกว่าเม็ดผด ส่วนสีขององค์พระนางพญาจะมีทั้งหมด 4 สีด้วยกัน ได้แก่ สีดำ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ซึ่งเกิดจากดินที่ผ่านการเผาด้วยความร้อนที่ไม่เท่ากัน ในขณะที่วางในเตาเผา และเป็นที่มาของขนาดองค์พระด้วย เพราะถ้าโดนความร้อนมากและสูงจะหดตัวมากกว่าองค์ที่โดนความร้อนปานกลาง หรือน้อยกว่า ซึ่งจะมีขนาดเล็ก และขนาดกลางซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระนางพญาสีเขียว พระนางพญากรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลกจะแบบออกได้เป็น 6 พิมพ์ ได้แก่

  1. พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง เป็นพิมพ์ใหญ่ และเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุด
  2. พระนางพญาพิมพ์เข้าตรง เป็นพิมพ์ใหญ่ แบ่งเป็น 2 แม่พิมพ์ คือ พิมพ์เข้าตรงธรรมดา และพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
  3. พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ เป็นพิมพ์ใหญ่
  4. พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
  5. พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
  6. พระนางพญาพิมพ์เทวดา หรือพิมพ์อกแฟบ ถือเป็นพิมพ์เล็ก

วัดนางพญา เป็นวัดที่อยู่ตรงข้ามวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช สันนิษฐานว่า พระวิสุทธิกษัตริย์ ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และเป็นพระราชมารดาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นไว้เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะประมาณ พ.ศ. 2090-2100 ซึ่งขณะนั้นเมืองพิษณุโลกเป็นเมื่อลูกหลวง และพระวิสุทธิกษัตริย์ดำรงพระอิสริยยศเป็น แม่เมืองสองแคว และพระมหาธรรมราชาทรงพระอิสริยยศที่ พระอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

 

ประวัติและความเป็นมา พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง