ประวัติเกจิอาจารย์ 9. พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ) จังหวัดเพชรบุรี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีตำนานเรื่องราวของ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
ประวัติเกจิอาจารย์ admin  

ประวัติเกจิอาจารย์ 9. พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ)

ประวัติเกจิอาจารย์ 9. พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ)

จังหวัดเพชรบุรี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีตำนานเรื่องราวของ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มากมายหลายรูปด้วยกัน แต่ละท่านนั้นมีลูกศิษย์มากมาย ทั้งเป็นพระภิกษุเองก็ดี เป็นประชาชนก็ดี และในครั้งนี้ขอพาไปพบกับหนึ่งในเกจิดังแห่ง จังหวัดเพชรบุรี อีกท่านหนึ่ง ท่านมีนามว่า พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ)

    พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ) เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2422 ณ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายแฉงกับนางทับทิม สำเภาเงิน มีพี่น้องทั้งหมด 9 คนด้วยกัน โดยตัวท่านนั้นเป็นคนที่ 7 ท่านเป็นคนมีความเฉลียวฉลาด อ่านเขียนเก่ง และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เมื่อพอมีความรู้ ท่านจึงลาออกจากการเรียนหนังสือเพื่อมาช่วยครอบครัวทำมาหากิน ก่อนที่จะออกบวชเมื่อตอนมีอายุครบ 20 ปี และได้รับฉายาว่า “สีลปญโญ” แปลว่า “ผู้ทรงศีลเป็นปัญญา”

ประวัติเกจิอาจารย์ 9. พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ)

เมื่อครั้นบวชเป็นพระแล้ว ท่านยังคงตั้งใจศึกเล่าเรียนธรรมะ และคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นพระภิกษุที่ไม่ยึดติดกับเงินทองลาภยศใดๆ ทำให้ประชาชนเลื่อมใสท่านเป็นอย่างมาก ท่านออกเดินทางไปจำวัดยังที่อื่น และมีความคิดที่จะลาสิกขาเพื่อจะมาดูแลบิดา มารดา แต่ตอนนั้นหลวงพ่อฉุย พระอาจารย์ของท่านได้ดูดวงและบอกว่า ท่านยังมีบุญบารมีสูงส่งเหมาะจะเป็นหลักชัยในการทำนุบำรุงพุทธศาสนาสืบไป ทำให้ท่านตัดสินใจอยู่ในสมณเพศต่อ

หลังจากนั้น พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญโญ) ได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ๆ กับบิดา มารดา และครอบครัวพี่น้อง ท่านจึงได้เชิญชวนบรรดาญาติโยมที่มีจิตศรัทธา ลูกศิษย์ลูกหา ให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นมาบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของปากอ่าวบางตะบูน และใช้เวลาสร้างอยู่ถึง 5 ปีด้วยกัน วัดปากอ่าวบางตะบูน ก็สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2450 ท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด ซึ่งปัจจุบันวัดแห่งนี้ยังคงตั้งอยู่ที่เดิมให้ผู้คนไปกราบไหว้กันได้ตลอด

พระครูญาณสาคร ถือได้ว่าเป็นเกจิอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องว่าขมังเวทอีกท่านหนึ่งในช่วงยุดก่อน พ.ศ.2500 โดยท่านนั้นเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต แห่งวัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม และยังเป็นศิษย์ของเกจิชื่อดังอีกหลายรูปในยุคนั้น ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากอ่าวบางตะบูน จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2506 ทิ้งไว้เพียงตำนานให้คนรุ่นหลังได้เล่าขานกันต่อไป