ประวัติพระเครื่องสมเด็จโต วัดเกศไชโย
ประวัติพระเครื่องไทย admin  

ประวัติพระเครื่องสมเด็จโต วัดเกศไชโย

ประวัติพระเครื่องสมเด็จโต วัดเกศไชโย

พระเครื่องสมเด็จโต วัดเกศไชโย เป็น 1 ในพระเครื่องที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้สร้างไว้ และได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ที่วิหารวัดไชโย จ.อ่างทอง เป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ได้แก่ลักษณะอกร่อง หูบายศรี ประกอบด้วยกรอบกระจกทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องให้ความนิยมอย่างสูง และได้จัดรวมไว้ในชุดพระสมเด็จ เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหม

วัดไชโยวรวิหาร หรือวัดเกศไชโย เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง เดิมเป็นวันราษฎร์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่มามีชื่อเสียงเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมสังสี แห่งวัดระฆัง ฯ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 4 หรือเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400-2405 ในขณะท่านดำรงสมณะศักดิ์เป็น พระเทพกวี

ประวัติพระเครื่องสมเด็จโต วัดเกศไชโย

กาลที่ท่านสมเด็จโตมาสร้างพระหลวงพ่อโต หรือที่ ร.5 ได้พระราชทานนามไว้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ถงโยมแม่ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากโยมแม่ของท่านได้เคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยสมัยเมื่อท่านยังเล็ก ซึ่งถ้าพิจารณาตามประวัติแล้วท่านมักจะสร้างสิ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์กับชีวิตท่านได้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย

ตามบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ได้กล่าวไว้ว่า ท่านสมเด็จโต เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศให้โยมมารดาชื่อเกศ และท่านได้สร้างพระพิมพ์ 7 ชั้นเพื่อแจกและบรรจุไว้ในกรุวัดไชโย ในคราวที่ท่านได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ด้วย โดยประมาณจากบันทึกต่าง ๆ น่าจะมีอายุการสร้างพระสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆัง ฯ นั่นเอง

พระสมเด็จวัดเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นพระสมเด็จอีกตระกูลหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสมเด็จโต ทั้งการสร้าง การปลุกเสก และการบรรจุ รวมทั้งส่วนผสมในการสร้างก็เป็นของดีของวิเศษของท่านด้วยกันทั่งสิ้น ซึ่งท่านนำมาประสมรวมกันเป็นเนื้อพระเครื่องวัดเกศไชโย ส่วนใหญ่ก็เป็นเนื้อเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหม นั่นเอง ซึ่งประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหัก รวมทั้งข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และที่ขาดไม่ได้คือน้ำมันตั้งอิ้วเพื่อการรวมตัวของสารต่าง ๆ และมวลสารอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

สำหรับเนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แด่ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง สำหรับพระเนื้อนุ่มประกอบด้วยมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่แยะสักหน่อย หรือที่เรียกว่า “เนื้อจัด” มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาลเล็กน้อย ส่วนพระที่มีเนื้อนุ่มปานกลาง จะเป็นพระที่มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนที่ลงตัว ส่วนใหญ่มีสีขาวอมเหลือง และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระที่มีเนื้อแก่ปูน ผิวจะแห่ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มีมวลสารประกฎให้เห็นเป็นปริมาณไม่มากนัด

พระสมเด็จวัดเกศไชโยมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ แต่ที่นำยมจะมีเพียง 3 พิมพ์ได้แก่ พระสมเด็จ 7 ชั้นนิยม พระสมเด็จ 6 ชั้น และพระสมเด็จ 3 ชั้น ส่วนในเรื่องของพุทธคุณนั้นจะเด่นทางด้านโชคลาภ และเมตตามหานิยม

 

 

 

ประวัติพระเครื่องสมเด็จโต วัดเกศไชโย