ประวัติพระรอด ลำพูน
ประวัติพระรอด ลำพูน
พระรอด เป็นพระที่เชื่อกันว่าพระฤาษีนารทะ หรือฤาษีนารอดเป็นผู้สร้างไว้ ดังในศิลาจารึกที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันหรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “แม่พระรอด” หรือ “พระรอดหลวง” ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธสีขีปฏิมา พระนางจามเทวี ได้อัญชิญมาจากกรุงละโว้ เป็นพระนามที่เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอด ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ที่มีใบคล้ายรัศมี ปรากฏอยู่ที่ด้านข้างทั้งสองข้าง
พระรอด ได้ขุดพบครั้งแรกเมื่อต้นสมัย ร.5 แต่ที่ได้สืบทราบมากจากการบันทึกไว้ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น รวมทั้งของอาจารย์บูญธรรม แห่งวัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ในพ.ศ. 2435 ว่าพระเจดีย์วัดมหาวันชำรุดและพังลงมาบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้ปฏฺสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ และได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้ที่พบพระรอดในครั้งแรกคงเรียบชื่อตามนามพระรอดหลวง แล้วก็ได้นำพาะรอดส่วนหนึ่งที่พบเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่ได้บูรณะขึ้นใหม่ประมาณหนึ่งบาตร
พระรอดมการขุดพบในปี พ.ศ. 2451 เนื่องจากฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด และทางวัดได้รื้อออกเพื่อจะได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ จึงได้พบพระรอดที่บรรจุไว้จำนวนหนึ่ง และได้นำออกมาทั้งหมดเพื่อแจกจ่ายแต่ช้าราชการและผู้ที่ได้มาร่วมงานในขณะนั้น พระรอดที่พบมีจำนวนมาก ซึ่งถือว่าพระรอดที่พบในกรุนี้เป็นกรุเก่าซึ่งได้ตกทอดมาถึงบัดนี้ ทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่แล้วนำไปบรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นที่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนได้นำออกแจกจ่ายให้ประชาชนในขณะนั้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “พระรอด ครูบากองแก้ว”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดทางด้านหลังวัด และใต้ถุ้นกุฏิพระ ได้พบพระรอดอีกประมาณ 300 องค์ ซึ่งมีทุกพิมพ์ทรง จึงถือว่าเป็นการพบพระรอดกรุใหม่ ที่มีการหมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ และเมื่อ พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้ทำการรื้อพระอุโบสถเพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ก็ได้พบพระรอดอีกครั้งหนึ่งมีจำนวน 300 องค์เช่นกัน พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำออกให้เช่าในกรุงเทพเป็นจำนวนมาก พระรอดที่พบส่วนใหญ่เป็นพระที่พิมพ์ได้ชัดเจน และมีพุทธลักษณะงดงามมากจึงได้ชื่อว่าพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นก็ยังมีผู้ขุดพบพระรอดในบริเวณลานวัดแทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ภายในวัด เป็นเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัดต้องระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้วทางวัดมหาวันยังได้ขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน ซึ่งมีเกือบทุกพิมพ์ แต่ที่พิเศษก็คือได้พบพระแผ่นดุมทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนอีกด้วย
พระรอดเป็นพระที่ขุดพบที่วัดมหาวัน แห่งเดียวเท่านั้น เป็นพระเนื้อดินเผา ที่มีเนื้อละเอียด หนึกนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัย ประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะสกุลช่างหริภูญชัย ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งสามารถแบ่งพุทธลักษณะออกได้เป็น 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น มีจุดตำหนิโดยรวมเป็นสัญลักษณ์ประกฎให้เห็นในทุกพิมพ์ทรง ทั้งใหญ่ กลาง เล็ก ส่วนพิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นยังไม่เห็นชัดเจนนัก
ประวัติพระรอด ลำพูน