ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกจิดังแห่งล้านนา
ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกจิดังแห่งล้านนา
ครูบาเจ้าศรีวิฃัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ท่านเป็นนักบุญ และ เกจิดังแห่งล้านนาไทย เป็นพระมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ด้วยทานะ สีละ สัจจะ ขันติ ท่านเป็นพระเถระชาวจังหวัดลำพูน เป็ฯผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและบูรณะพุทธศาสนาสถานหลายแห่ง ทางภาคเหนือของไทย จนได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา
ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกจิดังแห่งล้านนา
กำเนิดครูบาศรีวิชัย
ท่านครูบาศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 เมื่อเวลาค่ำ ที่กำลังมีพายุฟ้าร้องรุนแรงมาก ท่านจึงได้รับการตั้งชื่อว่า “อินตา” ซึ่งหมายความว่าฟ้าร้อง มีบิดาชื่อควาย มารดาชื่ออุสา ปู่ชื่อนายอ้าย และย่าชื่อนางน้อย ซึ่งเป็นธิดาของหมื่นผาบ (มาต่า) เป็นหมอคล้องช้าง ชาวกระเหรี่ยงแดง จากเมืองกันตรวดี ที่เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ชวนมาอยู่ด้วยที่ลำพูน ส่วนนางอุสา ซึ่งเป็นมารดาของท่าน บางตำราก็ว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างก็ว่าเป็นธิดาหนานไจยา ชาวเมืองลี้ สรุปว่าท่านครูบาศรีวิชัย ท่านมีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดงจากทางบิดา และอาจมีเชื้อสายกะเหรี่ยงขาวและยองจากฝั่งมารดา
การออกบวชของท่านครูบาศรีวิชัย
ท่านคิดจะออกบวชตั้งแต่อายุได้ 18 ปี เพื่อทำบุญเพราะที่บ้านยากจนและไม่เคยได้ทำบุญเลย และได้ออกบวชสมใจ ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมไว้เพื่อความสุขในภายภาคหน้า เพื่อจะได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อีกทางหนึ่งด้วย ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านปาง และได้ศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร กับอาจารย์พระขันติยะ จนอายุได้ 21 ปีจึงได้อุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้างโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้รับฉายาว่า สีวิเชยย มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย
พี่น้องท้องเดียวกัน จำนวน 5 คน
ครูบาศรีวิชัยมีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน 5 คน ท่านเป็นคนที่ 3 นายควายผู้เป็นบิดาได้เดินทางติดตามผู้เป็นตา คือหมื่นปราบ ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างไปตั้งครอบครัว และบุกเบิกที่ทำกินใหม่ที่บ้านปาง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนายควาย อยู่ท้านสันป่ายางหลวง ซึ่งอยู่ทางเหนือของ จ.ลำพูน ปัจจุบัน
ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี และได้ตั้งศพไว้ที่วัดบ้างปาง เป็นเวลา 1 ปี แล้วได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี อ.เมืองลำพูน จนถึงวันที่21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีจำนวนมาก และประชาชนเหล่านี้ได้เข้าแย่งอัฏฐิของท่านกันอย่างมากมาย